24 ส.ค. 2551

ประวัติศาสตร์อียิปต์

บทปฐมกาล
เมื่อราว หนึ่งหมื่นปีก่อน ทะเลทรายซาฮารายังเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยสัตว์ป่าและพืชพรรณนานาชนิด ในท้องทุ่งอุดมไปด้วยสัตว์ป่าอย่างช้างและแอนทีโลป มนุษย์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ในช่วงแรกดำรงชีวิตโดยการล่าสัตว์ และทำปศุสัตว์จวบจนกระทั่งเมื่อราวเจ็ดพันปีก่อนการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ทำให้ซาฮารา ค่อยๆแห้งแล้ง และกลายเป็นทะเลทรายในท้ายที่สุดก็เหลือแต่เพียงพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำไนล์เท่านั้นที่ยังคงความสมบูรณ์อยู่ และเนื่องจากทุกปีแม่น้ำไนล์จะพัดเอา ตะกอนหน้าดินมาถมฝั่ง ทำให้พื้นดินแห่งนี้มีความอุดม สมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก ผู้คนเริ่มอพยพจากพื้นที่รอบนอกเข้ามาจับจองพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำและเริ่มมีการเพาะปลูกขึ้น เผ่าชนเหล่านี้มาอาศัย รวมกันตามริมฝั่งแม่น้ำไนล์และแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ เรียกว่าโนมส์
ในแต่ละโนมส์จะปกครองโดยกลุ่มนักบวชซึ่งพัฒนามาจากหมอผีในสมัยหินใหม่ ต่อมาความจำเป็นในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ทำให้ต้องมีการจัดระบบชลประทานขึ้น หัวหน้ากรรมกรผู้ควบคุมการ ชลประทานเหล่านี้ได้ถูกยกย่องให้เป็นหัวหน้านักรบของโนมส์ เมื่อขนาดของชุมชนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆก็มีการพัฒนาเป็นนครรัฐขนาดเล็กกระจัดกระจายตาม ริมฝั่งแม่น้ำดินแดนของแม่น้ำไนล์ถูกแบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์เป็น อียิปต์บนและอียิปต์ล่าง
ดินแดนของแม่น้ำไนล์ถูกแบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์เป็น อียิปต์บนและอียิปต์ล่าง เนื่องจากแม่น้ำไนล์ไหลจากทางใต้ขึ้นสู่ทางเหนือ ดังนั้นอียิปต์บนจะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำไนล์อันเป็นทิศที่แม่น้ำไหลมาพื้นที่ส่วนนี้มี ทุ่งหญ้าและเขตป่าละเมาะที่เหมาะแก่การล่าสัตว์และทำปศุสัตว์ ส่วนอียิปต์ล่างจะตั้งบริเวณทิศเหนือซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำไหลลงทะเลและมีพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ ที่สมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกในช่วงเวลานั้นอียิปต์ล่างมีเมืองการค้าและศูนย์กลางที่สำคัญชื่อว่า บูโท ส่วนทางอียิปต์บนพลเมืองจะอาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณเมืองนากาดา และเฮียราคอนโพลิส
กำเนิดแห่งอาณาจักร ในราว 3200ปีก่อนคริสตกาล ราชาแมงป่อง (Scorpion king) ผู้ครองนครธีส (This) อันตั้งอยู่บริเวณตอนกลางแห่งลุ่มน้ำไนล์ได้กรีฑาทัพ เข้ายึดครองนครรัฐต่างๆในอียิปต์บนและตั้งตนเป็นฟาโรห์แห่งอาณาจักรบน ราชาแมงป่องปรารถนาจะรวมอียิปต์เข้าด้วยกันแต่พระองค์สิ้นพระชนม์เสียก่อน โอรสของพระองค์(ข้อนี้นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจนักแต่จากหลักฐานที่มีแสดงว่าทั้งสองพระองค์น่าจะเกี่ยวดองกัน)นามว่า นาเมอร์(Namer)ได้สานต่อนโยบายและกรีฑาทัพเข้าโจมตีอียิปต์ล่าง จนกระทั่งมาถึงสมัยของ ฟาโรห์เมเนส(Menese)พระองค์สามารถผนวกทั้งสองอาณาจักรเข้าด้วยกันได้สำเร็จและ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของอียิปต์โดยตั้งเมืองหลวงที่ เมมฟิส (Memphis) ซึ่งอยู่ตอนกลางของลุ่มน้ำไนล์ ฟาโรห์เมเนสเป็นฟาโรห์องค์แรกแห่งราชวงศ์ที่หนึ่งของอียิปต์โบราณ
อักษรอียิปต์: ชาวอียิปต์ใช้อักษรภาพที่เรียก ว่าเฮียโรกลิฟฟิค (Hieroglyphic) ซึ่งมีทั้งแบบที่เป็นรูปภาพและแบบที่เป็นสัญลักษณ์ประกอบเป็นคำ โดยจะบันทึกลงในแผ่นหินและม้วนกระดาษปาปิรัสซึ่งทำจากต้นกก ตัวอักษรอียิปต์มีประมาณ 1000 ตัว ในสมัยก่อน ผู้ที่สามารถอ่านเขียน อักษรเฮียโรกลิฟฟิคได้คล่องแคล่วจะมีโอกาสได้ทำงานเป็นอาลักษณ์ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสที่จะเลื่อนขึ้นเป็นขุนนาง หรือนักบวชสำคัญได้ สำหรับอักษรของอียิปต์นั้น นับแต่อารยธรรมล่มสลายลงไปก็ไม่มีใครสามารถตีความได้ จนกระทั่งได้มีการค้นพบ ศิลาจารึก โรเซทต้า (ROSETTA) ในปี ค.ศ. 1799 ที่มีจารึกอักษรเฮียโรกลิฟฟิคกับอักษรกรีกโบราณเอาไว้ ฟรองซัวส์ ชองโพลียอง ใช้วิธีการค้นคว้าโดยอ่านเทียบกับอักษรกรีกโบราณ และสามารถตีความได้สำเร็จในปี 1822
อักษรเฮียโรกลีฟฟิค มีลักษณะเป็นรูปสัญลักษณ์หนึ่งเท่ากับคำหนึ่งจากนั้นเป็นกลุ่มพยัญชนะ พยัญชนะโดดๆ ไม่มีสระ ใช้ในทางศาสนาต่อจากอักษรเฮียราติค (ภาษาที่่ใช้ทั่วไป) เป็น อักษรเดโมติค(ราว 700 ปีก่อนค.ศ.) เป็นภาษาประจำวัน ปฏิทินอียิปต์มี 365 วัน (12 x 30 + 5) วันแรกของปีเริ่มกลางเดือนกรกฎาคมตรงกับที่แม่น้ำไนล์ล้นฝั่ง ปีที่มี 366 วันไม่มีปรากฎใช้ สมัยต่อมาการนับปีถือเอาเทพเจ้าซิริอุส (โซธิส) เป็นหลัก คือ หนึ่งปีโซธิสมี 365 วันและอีกเศษหนึ่งส่วนสี่

ตัวอย่างอักษรเฮียโรกลิฟฟิค ชื่อของ TUT ANKH AMUN

จากที่ดิฉันได้กล่าวประวัติศาสตร์อียิปต์มาข้างต้นแล้วต่อจากนี้ดิฉันจะนำทุกคนมารู้จักกับราชวงค์ของอียิปต์กันบ้าง

สมัยจักรวรรดิเก่า (2850 - 2052 ปี ก่อนคริสตศักราช)
2850-2650 สมัยธินิท (ราชวงศ์ที่1 และ 2) อียิปต์เป็นตัวของตัวเอง ไม่ได้รับอิทธิพลจากต่างชาติ มีการสู้รบกับพวกเบดวงจากคาบสมุทรซีนาย เพื่อแย่งชิงเหมืองทองแดงมีการติดต่อทางเรือกับเมืองไบโบลส (ในเลบานอนปัจจุบัน) เพื่อซื้อไม้เซดาร์มาใช้ในการก่อสร้างและทำโลงศพของฟาห์โร (กษัตริย์) มีการ ก่อสร้างหลุมศพสำหรับเจ้าเรียกว่า มาสตาบา
2650 - 2190 สมัยปิรามิด (ราชวงศ์ที่ 3 - 6) เมมฟิส เป็นศูนย์กลางทางการเมือง พระเจ้าโจเซอร์ทรงมีพระราชโองการให้อิมโฮเทป ผู้เป็นแพทย์และสถาปนิก เป็นผู้สร้างปิรามิดซัคคาราขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ฝังพระศพของพระองค์ปิรามิดซัคคารา ประกอบด้วยมาสตาบา 6 หลังซ้อนกัน
ราชวงศ์ที่ 4: จำนวนกษัตริย์ผู้สร้างปิรามิดมีมากมาย ที่มีชื่อเสียง เช่น สเนฟรู (ปิรามิดดาห์ชูร์และแมดูม) เคออป, เคเฟรน, ไมเซรินุส (ปิรามิดกิเซ่ ทางตะวันตกของเมืองไคโร)
ราชวงศ์ที่ 5: ศาสนาประจำชาติ คือการนับถือเทพเจ้าเรหรือรา (เรแห่งเมืองเฮลิโอโปลิส) เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ มีการสร้างวิหารให้เทพเจ้าองค์นี้และสร้างเสาหินสูง
ราชวงศ์ที่ 6: ฟาห์โรอ่อนอำนาจทำให้ขุนนางมีอำนาจมากขึ้น 2190 - 2052 เป็นระยะเวลาที่ต่อระหว่างสองสมัย(ราชวงศ์ที่ 7 ถึงที่ 10 เรียกสมัยเฮราเคลโอโปลิส) รัฐ ตำแหน่งฟาห์โร (บ้านใหญ่) เป็นตำแหน่งสืบทอดฟาห์โร มีอำนาจสูงสุด เช่น ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชของไทยเรามักเห็นอยู่ในรูปของเทพเจ้า-เหยี่ยวโฮรุส (เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่) นับจากราชวงศ์ที่ 4 เป็นต้นมา ฟาห์โร เปรียบเสมือนบุตรของเทพเจ้าเร หรือเทพเจ้า-พระอาทิตย์ การบริหารส่วนกลาง ข้าราชการหรือสคริบอยู่ใต้คำบังคับบัญชาของรัฐมนตรี ล้วนมาจากครอบครัวชนชั้นสูง ภาษีจ่ายเป็นข้าวสาลีและสัตว์ใช้งาน เช่น วัว ประชาชนทุกคนมีสิทธิในศาล มีสัมพันธไมตรีกับประเทศซีเรียและพุนท์(โซมาเลีย) ทำสงครามกับประเทศลิเบียและชนเผ่าต่างๆในดินแดนปาเลสไตน์ การศาสนา เริ่มแรกนับถือสิ่งศักด์สิทธิ์มากมาย ซึ่งมีอยู่ในรูปร่างและหัวสัตว์ สมัยประวัติศาสตร์ คนนับถือพระอาทิตย์มาก มีการสร้างวิหารที่สำคัญหลายแห่ง เช่น วิหารของเทพเจ้าอาตอน-เรที่เฮลิโอโปลิส วิหารของเทพเจ้าพทาห์ที่เมมฟิส วิหารของเทพเจ้าโธทที่เฮอร์โมโปลิสเทพเจ้าโอซิริสที่เคยเป็นเทพเจ้าแห่งพืชพันธุ์ไม้ กลายมาเป็นเทพเจ้าของคนตาย คนอียิปต์เชื่อเรื่องเวรกรรม คนตายไปแล้วจะได้รับกรรมที่ทำไว้ และเชื่อเรื่องชาติหน้า

จักรวรรดิ์กลาง (ประมาณ 2052 - 1570 ปี ก่อนคริสตศักราช) หลังจากที่อียิปต์ผ่านสงครามภายในมาหลายปี พระเจ้าเมนทูโฮเทปที่่ 2 ทรงรวม อียิปตบนและอียิปต์ล่างเข้าด้วยกัน และทรงย้ายเมืองหลวงจากเมมฟิสไปที่ธีบส์
1991 - 1786 ตรงกับราชวงศ์ที่ 12 อำนาจการปกครองมารวมอยู่ที่เมืองหลวงอีก เชื้อพระวงศ์ตามเมืองต่างๆหมดอำนาจ มีการก่อสร้างวัดขนาดใหญ่หลายหลังที่คาร์นัค เมืองที่ถือว่าเป็นที่สถิตของเทพเจ้าองค์ใหม่ ชื่ออาโมส อียิปต์เจริญสูงสุดในสมัยของ
พระเจ้าเสโซสทริสที่ 3 (1878-1841 ปี ก่อนคริสตศักราช) อียิปต์มีอิทธิพลถึงนูเบีย (ซูดาน) ทางตอนกลางเพราะที่นี่มีเหมืองทองคำ มีการสร้างทางติดต่อการค้าไปทะเลแดง ซีนาย และพุนท์ (โซมาเลีย) เกาะครีตและเมืองโบลส (ในเลบานอน) รัชกาลพระเจ้าอัมเมเนแมสที่ 3 จัดการใช้พื้นที่แถวทะเลสาบมัวริส (ฟายุม) ให้เป็นประโยชน์ สร้างปิรามิดและวัดฮา อูอาราสำหรับคนตาย (Labyrinthe) งานประติมากรรมมีการทำรูปพระเจ้าเสโซสทริสที่ 3 และพระเจ้าเมเนแมสที่ 3 ตอนวัยชรา การทำรูปสฟิงซ์มีหน้าเป็นกษัตริย์ กำเนิดประติมากรรมแบบใหม่ คือ รูปคนท่ายกเข่า สวมเสื้อผ้ายาวจดเท้า ด้านวรรณคดีมีการแต่ง "คำสอนของพระเจ้าอัมเมเนแมสที่ 1" และ "ประวัติศาสตร์ซินูเฮ"
1778 - ประมาณ 1610 ปี ก่อนคริสตศักราช เป็นช่วงคั่นระหว่างสองสมัย (ราชวงศ์ที่ 13-14) สงครามภายในทำให้มีศัตรูจากภายนอกรุกราน การรุกรานของพวกฮิกโซส ประมาณ 1650 ปี ก่อนคริสตศักราช พวกฮิกโซส มาจากชนเผ่าฮูไรท์และเซมิติก (ทางเอเซีย) การรุกรานเป็นผลมาจากการอพยพของพวกอินโด-ยุโรเปี้ยน ราวปี 2,000 ก่อนคริสตศักราช พวกฮิกโซสมีอำนาจเหนือดินแดนอียิปต์ตอนบนพวกเขาเป็นคนชั้นสูงและถิ่นที่เขาอยู่ที่อาวาริส (ทางเดลต้าตะวันออก) ถือว่าเจริญมากของอียิปต์ เนื่องจากเทคนิคอารยธรรมที่เหนือว่าตนเข้าไว้ด้วย

จักรวรรดิใหม่ (1570 - 715 ปี ก่อนคริสตศักราช) พระเจ้าอโมซิสทรงขับไล่พวกฮิกโซสออกจากอาวาริสไปจนถึงดินแดนปาเลสไตน์แล้วทรงตั้งจักรวรรดิใหม่ (ราชวงศ์ที่ 18) กษัตริย์ที่สืบราชสมบัติต่อมา เช่น พระเจ้าอาเมโนฟิสที่ 1 และ ธุทโมซิสที่ 1 ทรงทำให้อียิปต์มีอำนาจมากมีการยกทัพไปเอเซีย(แถวแม่น้ำยูเฟรติส) และนููเบีย สมัยที่อียิปต์เจริญสูงสุดคือสมัยพระนางฮัทเชบสุท พระนางฮัทเชปสุท (1501-1480) ทรงดำเนินนโยบายแบบสันติ สัมพันธไมตรีกับประเทศพุนท์ มีการก่อสร้างมากมายที่สำคัญ คือวัดที่แดร์ เอล-บาห์รี ที่ก่อสร้างภายใต้การควบคุมของรัฐมนตรีคนโปรดของพระนาง ชื่อ เซอเนนมุท เมื่อพระนางสิ้นพระชนม์ พระสวามีขึ้นครองราชต่อ 1480-1488 พระเจ้าธุทโมซิสที่ 3 เป็นระยะเวลาที่ประเทศอียิปต์มีอาณาเขตกว้างไกลถึงแม่น้ำยูเฟรติส (ในอิรัก) 1480 พระองค์ทรงรบชนะซีเรีย ปาเลสไตน์และเฟนีเซีย ด้วยกองทัพทหารรับจ้างและกองทัพรถม้า อาณาจักรมิตานี (ปัจจุบัน คือ อิรักตอนเหนือ) กลายมาเป็นประเทศเพื่อนบ้าน กษัตริย์องค์ต่อๆมาล้วนประสบความสำเร็จในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศทั้งสิ้น 1413-1377 อาเมโนฟิสที่ 3 มีมเหสีมาจากบุคคลธรรมดาถือเป็นสมัยที่รุ่งเรืองมากทรงมีนโยบายผูกสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศด้วยการอภิเษกสมรส เป็นสมัยที่อียิปต์ต้อนรับทูตจากต่างประเทศมาก และมีการค้าขายอย่างเป็นล่ำเป็นสัน กับอาณาจักรมิตานี บาบิโลเนีย ครีต อัสซีเรีย อาณาจักรฮิตไทท์ และหมู่เกาะในทะเลเอเจียน (แผ่นดินเหนียวที่พบที่เมืองอามาร์นา จารึกเป็นภาษาอัคคาเดียน ซึ่งเป็นภาษาท่ี่ใช้ในทางการทูตสมัยนั้น) 1377-1358 อาเมโนฟิสที่ 4 ทรงมีมเหสีที่รู้จักกันดี คือ พระนางเนเฟอร์ติติ กษัตริย์พระองค์นี้ทรงเป็นผู้นำการนับถืออาตอน หรือ การนับถือดวงอาทิตย์เป็นพระเจ้าองค์เดียวให้แก่อียิปต์ ทรงย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่อาเคท-อาตอน (เอล-อามาร์นา) ทรงเปลี่ยนพระนามของพระองค์ใหม่เป็น อาเคนาตอน พระองค์ไม่สนพระทัยในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ ดังนั้่นประเทศอียิปต์จึงค่่อยๆ สูญเสียดินแดนในเอเซีย เมื่อทรงสิ่้นพระชนม์ชนชั้น นักบวชถือโอกาสนำประเทศกลับมาใช้ระบบเดิม พระราชบุตรเขยทั้งหลายพร้อมใจกันย้ายเมืองหลวงกลับมาอยู่ที่ธีบส์ตามเดิม หนึ่งในราชบุตรเขยมีตุตอนคามอน ท่ี่นักโบราณคดีพบหลุมฝังศพเต็มไปด้วยของมีค่าเมื่อ ค.ศ.1922 โฮเรมเฮบ นายทหารของอาเคนาตอนขึ้นครองราชย์ ทำสงครามชนะพวกฮิทไทท์ในซีเรียและจัดระเบียบการปกครองใหม่ให้เข้มงวดกว่าเดิม ทรงทะนุบำรุงศาสนานำพิธีนับถือพระเจ้าแบบเก่ามาใช้ปนกับวิธีของเอล-อามาร์นา
1345 - 1200 ราชวงศ์ที่19 พระเจ้าเซติที่ 1 และพระเจ้ารามเสสที่ 2 ทรงชนะพวกฮิทไทท์และมีอำนาจเหนือซีเรียอีกประมาณ 1275 ปี ก่อนคริสตศักราช เกิดสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างพระเจ้ารามเสสที่ 2 กับฮาทตูซิลที่ 3 กษัตริย์ของพวกฮิทไทท์ ซีเรียสามารถอยู่อย่างสงบอียิปต์ตั้งเมืองหลวงใหม่ที่เดลต้า ชื่อ อาวาริส แปลว่าเมืองของรามเสส 1234 - ประมาณ 1220 พระเจ้าเมเนปทาห์ยกกองทัพไปทำสงครามกับปาเลสไตน์ (ปรากฎชื่ออิสราเอลเป็นครั้งแรกในจารึก) และได้ต่อสู้กับชนชาวทะเล(มีพวกกรีกและฟีลิสติน แถวกาซาปัจจุบัน) แต่มีสัมพันธไมตรีกับลิเบีย 1197-1165 พระเจ้ารามเสสที่ 3 ทรงต่อสู้กับชนชาวทะเลและลิเบียที่มารุกรานแต่ถูกพระองค์ทรงขับไล่ออกไปทรงสร้่างคุกไว้ที่เดลต้า กษัตริย์ต่อจากพระองค์ทรงให้วัดเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิิจ ศิลปกรรม มีการสร้างวัดขนาดใหญ่ เช่น วัดพระเจ้าอามอนที่คาร์นัค ลุกซอร์ เมดิเนท์-ฮาบู ศิลปกรรมที่่่่เมืองอามาร์นา (เศียรของอาเคนาตอนและเนเฟอร์ติติ รูปประติมากรรมของครอบครัว) ในรัชกาลของพระเจ้ารามเสส นิยมสร้างห้องขนาดใหญ่ที่คาร์นัค สร้างวัดที่เจาะเข้าไปในหิน ผนังเต็มไปด้วยภาพวาดแบบที่อาบู ซิมเบล ภายนอกมีรูปสลักขนาดมหึมาและนิยมสร้างวัดสำหรับเป็นที่ไว้ศพอย่างเช่นที่เมดิเนท์-ฮาบูหลังจากที่สู้รบกับพวกพระอามอนที่ธีบส์และกับนายทหารจ้างของลิเบียแล้ว 950 ปีก่อนค.ศ. พระเจ้าเชช องค์ที่ 1 นายทหารจ้างลิเบียขยายอาณาเขตออกไปรอบๆบูบาสติส พวกพระส่วนหนึ่งจึงอพยพไปอยู่นูเบีย ที่ซึ่งพระองค์ต่อๆมา สร้างรัฐที่ปกครองโดยพระขึ้นมา มีเมืองนาปาตาเป็นเมืองหลวง (ราว 750 ปี ก่อนคริสตศักราช) ประมาณ 920 ปี ก่อนคริสตศักราช กองทัพของพระเจ้าเชชองค์ที่ 1 ยกทัพไปตีปาเลสไตน์และทำลายเมืองเยรูซาเล็ม สมัยอียิปต์ต่ำ (715-332 ปีก่อนค.ศ.)715-663 เอธิโอเปียมีอำนาจเหนืออียิปต์ แต่ไม่นานก็ถูกอัสซีเรียรุกรานจนสูญเสียอำนาจนี้ไป พระเจ้าอัสซาราดดอนยกทัพมาถึงเมืองธีบส์ปี 671 ก่อนค.ศ. แต่พวกเอธิโอเปียขับไล่ออกไปได้662 พระเจ้าอัสสูร์บานิปาลได้รับชัยชนะเหนืออียิปต์ อียิปต์กลายเป็นเมืองหนึ่งของอัสซีเรีย ผู้ครองโนม (จังหวัด) เป็นเสมือนเจ้าครองเมืองของอัสซีเรียหนึ่ง ในจำนวนนี้มี พระเจ้าพซามเมติกที่ 1 (663-609) เป็นผู้ปลดปล่อยอียิปต์ให้เป็นอิสระ และให้พวกพระอามอนเป็นทหารจ้างลิเบียก่อตั้งหน่วยทหารจ้างไอโอเนียนที่เดลต้าและตั้งสถานีการค้าไอโอเนียน (โนเครติส)569-525 พระเจ้าอามาซิส เป็นรัชกาลที่อียิปต์รุ่งเรืองขึ้นอีกเป็นครั้งสุดท้ายเพราะสามารถควบคุมสถานการณ์ในแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกได้และมีสัมพันธไมตรีกับเกาะต่างๆ ของกรีกและแม้แต่อาณานิคมกรีก อียิปต์ผูกไมตรีกับพระเจ้าเครซุสแห่งลิเดียและกับพระเจ้าโปลีคราทแห่งซาโมสเพื่อต่อสู้กับพวกเปอร์เซีย525 พระเจ้าพซามเมติกที่ 3 พระโอรสของพระองค์ถูกพระเจ้าคอมบิสแห่งเปอร์เซียฆ่าตายในการรบที่เปลุส อียิปต์กลายเป็นเมืองหนึ่งของเปอร์เซีย332 พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชชนะต่ออียิปต์ ตั้งแต่ปี 304 ก่อนคริสตศักราชเป็นต้นมา เหล่ากษัตริย์ปโตเลมีของกรีกเฮเลนิสติกมาครองอียิปต์ 30 ปี ก่อนคริสตศักราชโรมันมาครอง อียิปต์

ความเขี่อของชาวอียิปต์- ชาวอียิปต์โบราณมีคติเกี่ยวกับเรื่องชีวิตหลังความตาย ซึ่งเชื่อกันว่าดวงวิญญาณจะกลับมาเข้าร่างในวันหนึ่งข้างหน้า จึงคิดวิธีการทำ มัมมี่ ขึ้นมาเพื่อรักษาสภาพศพเอาไว้ไม่ให้เน่าเปื่อย หรือพยายามหาวิธีให้ศพคงสภาพสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

วิธีการทำมัมมี่- การทำมัมมี่มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณ ร่างของคนตายจะถูกห่อหุ้มไว้ด้วยผ้าหรือเสื่อ อย่างลวกๆ และถูกฝังไว้ในหลุมแคบๆภายในพื้นทรายซึ่งลึกลงไปไม่กี่ฟุต ทั้งนี้เพราะความร้อนของทะเลทรายทำให้ศพอยู่ ในสภาพที่เหมือนถูกอบแห้งด้วยวิธีการอาศัยปัจจัยทางธรรมชาติ
- ในยุคราชวงศ์แรกของอียิปต์หรือราว 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ศพของชาวอียิปต์ถูกห่อหุ้มด้วยผ้าลินินซึ่งอาบน้ำยาและมัดไว้ อยางแน่นหนา ล่วงเลยมาจนถึงราชวงศ์ที่ 2 ของอียิปต์ ราว 2,800 ปีก่อนคริสศักราช การห่อศพจึงเริ่มพิถีพิถันมากขึ้น โดนมีการพันผ้าลินินอาบน้ำยารอบตัวทั้งบริเวณหัว แขน ขา หน้าอก ท้องและลำตัวจนเห็นเห็นรูปทรงของคน รวมทั้งบริเวณนิ้วมือ ก็มีการพัน
- ช่วงปลายราชวงศ์ที่ 3 แห่ง อียิปต์โบราณ มีการผ่าพระศพของกษัตริย์หรือองค์ฟาโรห์และพระราชวงศ์ เพื่อนำเอาอวัยวะภายใน อันเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ศพเน่าเปื่อย ออกมาดองไว้ต่างหากด้วยตัวยาที่เชื่อว่าสามารถป้องกันการเน่าเปื่อยได้ เช่นแช่ไว้ด้วยของเหลวที่เรียกว่า เนตรอน ( Natron ) อันเป็นสารละลายของโซดาชนิดหนึ่งดังเช่นการค้นพบพระบรมศพของ ราชินี เฮเตเฟเรส ( Hetepheres ) พระชายาแห่ง สเนฟูรู ( Snefru ) ซึ่งเป็นพระชนนีของฟาโรห์คีออปส์( ผู้มีชื่อเสียงเกี่ยวกับ ปิรามิด แห่งคีออปส์ ) ปรากฎว่าอวัยวะภายในของพระนางถูกดองเอาไว้และมีการปิดผนึกอย่างดี สามารถคงสภาพไว้ได้เป็นเวลาถึง 4,000 ปี วิธีการนำอวัยวะออกมาดองนี้ต่อมาได้แพร่หลายสู้พวกอัศวินหรือขุนนางและบุคคลสำคัญอื่นๆ สหรับช่องท้องนั้นได้ถูกยัดไว้ด้วยผ้า ลินินอาบน้ำยา
- ในช่วงประวัติศาสตร์ของราชวงศ์อียิปโบราณที่ 4-5 หรือราว 2570-2450 ก่อนคริสศักราช เทคนิคการทำมัมม ี่ได้วิวัฒนาการใช้ยางสนแสดงรูปลักษณ์ภายนอกของมัมมี่ซึ่งมี ความคงทนถาวรถึงขนาดขนคิ้วหรอกหนวดของผู้ตายยังแสดง ออกให้เห็น ดังเช่นมัมมี่ของ เพตริค ( Petric ) ซึ่งค้นพบโดย วิลเลี่ยม เอ็ม.เอฟ.เพตริค ( Willam M.F. Petric ) นัก อียิปต์วิทยาชาวอังกฤษ และมัมมี่ของ เยนตี้ ( Yenty ) อัครมหาเสนาบดีในยุคราชวงค์ที่ 5 ( เป้นเพียงข้อสันนิษฐาน ทางประวัติศาสตร )์ ซึ่งถูกบรรจุไว้ในโลงหินแกรนิตสามารถรักษาเค้าหน้าของมัมมี่ ไว้ได้อย่างน่าทึ่ง ค้นพบโดย ยอร์ช เอ. ไรส์เนอร์ ผู้ขุดพบปิรามิดแห่ง กีซา
- จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าเริ่มมีการใช้ปูนปลาสเตอร์ฉาบหน้าหรือศีรษะและบางทีก็พอกมมมี่ทั้งตัว ในยุคราชวงศ์ ที่ 6 หรือราว 2300 ปีก่อนคริสกาล และมีการเขียนตบแต่งรูปใบหน้าให้สวยงาม ต่อมาจีงมีการสวมทับด้วยหน้ากากซึ่งทำด้วยสาร คาร์ตันเนจ ( Cartonnage ) อันเป็นส่วนผสมของกระดาษ ปาปิรัส ( Papyrus ) กับ ผ้าปลาสเตอร์รวมกับกาว ต่อมาจึงมีการคลุมหรือปิดทันทั้งตัวไม่ใช่เฉพาะส่วนของหน้า และในยุคอาณาจักรของพระเจ้าทีปส์ ( Thebes ) หรือราว 1550 ปีก่อนคริสศักราช ได้มีการดูดมันสมองออกมาจากศพและการฉีดสารเคมีบางอย่างเข้าไปใต้ผิวหนังเพื่อรักษาสภาพเอาไว้ให้คงอยู่ ได้นานที่สุด
โลงศพสำหรับมัมมี่
- ในยุคแรก โลงศพของชาวอียิปต์มีลักษณะคล้ายตุ่มมีฝาปิด และจารึกคำขอความคุ้มครองจากเทพเจ้าเอาไว้ที่ด้านข้าง และได้วิวัฒนาการตามการทำมัมมี่มาตามลำดับ ลักษณะของดลงจึงเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า หรือรูปหีบซึ่งทำด้วยไม้และหินแข็ง อย่างหินแกรนิต มีการตบแต่งลวดลายของหีบศพทั้งภายนอกและภายใน จนในที่สุดได้มีการจำลองรูปคนโดยแกะสลักให้มีหน้าตาเป็นรูปคนยืนเหยียดตรงมือทั้งสองผสานไว้ที่หน้าอกดังที่เราพบเห็นกันทั่วไปตามหน้า นิตยสาร หรือภาพถ่าย
- สำหรับอวัยวะภายใน เมื่อมีการนำออกมาดองก็ต้องทำภาชนะสำหรับเก็บรักษา ซึ่งมีชื่อเรียกว่า คาโนปิค ( Canopic ) มาจากชื่อของ คาโนปัส ( Canopus ) นักรบแห่งเมนาเลียส ( Menaleus ) ซึ่งศพของเขาถูกเก็บไว้ในภาชนะรูปตุ่มมีฝาครอบซึ่งคาดนปิคนี้มีอยู่ถึง 4 ใบ เนื่องจากอวัยวะภายในของศพที่สำคัญถูกแบ่งออกเป็น 4 อย่าง ได้แก่ ตับ กระเพาะ ปอด และลำไส้ใหญ่ สำหรับหัวใจนั้นชาวอียิปต์จะไม่นำออก มาจากร่างของศพ
- ฝาครอบของคาโนปิค ต่อมาได้ถูกแกะสลักเป็นรูปของ "ผู้คุ้มครองทั้ง 4 " อันได้แก่ อิมเซตี้ ( Imsety ) แกะสลักเป็นรูปหัวคน เดวาอุมาอุเตฟ ( Dewau-Mautef ) แกะสลักเป็นรูปหัวสุนัข ฮาปิ ( Hapy ) แกะสลักเป็นรูปหัวลิง และ เคเบห์สเนเวท ( Kebehsnewet ) แกะสลักเป็นรุปหัวเหยี่ยว
สิ่งที่บรรจุรวมอยู่ในโลงศพ
- นอกจากศำขอมัมมี่แล้วในการทำพิธีของชาวอียิปต์โบราณจะมีการนำข้าวของเครื่อใช้ที่สำคัญใส่ลงไปในโลงด้วย เช่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ และอาวุธ ฯลฯ เพื่อให้ผู้ตายเอาไว้ใช้สอยดังนั้นหีบศพจึงต้องทำเป็นหลายๆชั้นวางซ้อนกัน เพื่อจะให้ได้บรรจุข้าวของเครื่องใช้ และอีกทางหนึ่ง ก็เพื่อป้องกันการรบกวนศำโดยทำให้ซับซ้อนยากแก่การเปิด แต่กลับเป็นเครื่องท้าทายความสามารถของบรรดาเหล่าขดมยและมิจฉาชีพ จึงปรากฎว่าพระบรมศพหรือมัมมี่ขององค์ฟาดรห์ส่วนใหญ่แทบจะไม่ได้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เลยแม้แต่พระองค์เดียว เห็นจะมีแต่มัมี่ของ ตุตันคามัน ( Tutankhamun ) ฟาโรห์องค์หนึ่งซึ่งไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนักในประวัติศาสตร์ แต่เมื่อมีการค้นพบกลับเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก และนักอียิปต์ศาสตร์ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะมัมมี่ซึ่งอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่มีการขุดพบมา
- สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้สำหรับคนตายตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณคือ " คนรับใช้" ในยุคแรกใช้วิธีวาดภาพ การปั้นด้วยดินเหนียว หรือสีผึ้ง จนถึงการแกะสลักด้วยไม้ และได้มีการทำตัวแทนของคนรับใช้เป็นรูปมัมมี่เหมือนผู้ตายในยุคราชวงศ์ที่ 12 โดยบรรจุไว้ในหีบศพจำลองซึ่งเรียกว่า "ชาวับติ" ( Chawabti ) ซึ่งมีความหมายว่า " ผู้ขานรับ "
ปิรามิดสถานที่ฝังพระบรมศพ
- หลุม หรือสถานที่ฝังศพของชาวอียิปต์โบราณในยุคเริ่มแรก อาจทำอย่างง่ายๆด้วยการขุดหลุม ฝังในพื้นทราย ต่อมาจึงมีวิวัฒนาการเป็นหลมศพที่มีหลังคา และสำหรับสถานที่ของผู้มีฐานะดีหรือมี ความสำคัญเช่นองค์ฟาโรห์ก็ต้องทำให้วิจิตรพิสดารมากขึ้น จนเกิดการสร้างปิรามิดอันยิ่งใหญ่ในที่สุด
- หลุ่มฝังศพในยุคแรกๆเรียกว่า "มัสตาบา" ( Mastaba ) ลักษณะเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้าสร้างด้วยอิฐ ทำไว้เหนือหลุมศพ ต่อมาพัฒนาเป็นการสร้างด้วยหินจนกลายเป็นปิรามิดในยุคเริ่มต้น เรียกว่า ปิรามิดขั้นบันได ลักษณะเป็นทางสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียงซ้อนจากใหญ่ไปหาเล็กซึ่งอยู่ทางสูงสุดยอด ต่อมามีการฉาบด้านทั้งสี่ให้เรียบ ส่วนภายนอกออกแบบเป็นห้องหับต่างๆ อย่างสลับซับซ้อนมีทางเดินสถานที่ไว้พระบรมศพขององค์ฟาโรห์ วิหารสำหรับสักการะพระบรมศพ และด้านนอกได้สร้างรูปแกะสลักอสุรกายสฟิงซ์หรือสัตว์ครึ่งคนครึ่งสิงโต ไว้สำหรับเป็นผู้เฝ้าสุสานของฟาโรห์
ความมหัศจรรย์ของปิรามิด
- ปิรามิด เป็นสิ่งก่อสร้างรูปทรงเลขาคณิตที่มีอายุยาวนานหลายพันปีและเชื่อกันว่าจะคงอยู่ไปอีกหลายพันปี หรือนับ หมื่นปี ฮีโรโดตัส ( Herodotus ) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกได้บันทึกว่า การสร้างปิรามิดนั้น ต้องใช้แรงงาน ของคนราว 10,000- 400,000 ใช้เวลาก่อสร้าง 20 ปี โดนทำงานเพียง 3 เดือนในช่วงหยุดพักจากการทำนา
- ปิรามิดใหญ่กีซา ( The Great Pyramid of Giza ) มีฐานแต่ละด้านยาวประมาณ 756 ฟุต พื้นที่ฐาน 13.1เอเคอร์ ( 1 เอเคอร์ = 4046.86 ตารางเมตร ) ความสูงของปิรามิดถึงยอดเดิม 481.4 ฟุต ( ปัจจุบัน ได้ขาดหายไป 31 ฟุต )
- จำนวนหินที่นำมาใช้สร้าง ประมาณ 23,000,000 แท่ง น้ำหนักประมาณ 2.5 ตัน ต่อแท่ง แท่งหใญ่ที่สุดมี น้ำหนักถึง 15 ตัน หินที่นำมาสร้างถูกลำเลียงมาจากเมืองหินทางตอนใต้ของอียิปต์ดดยทางเรือ ตามแม่น้ำไนล์ ซึ่งในหน้าน้ำท่วมจะท่วมเข้าไปในบริเวณที่ราบห่างจาสถานที่สร้างปิรามิดประมาณ 1/4 ไมล์เท่านั้น และลำเลียงแท่งหินไปสู่สถานที่ก่อสร้างด้วยวิธีการใช้เครื่องมือลักษณะคล้ายแคร่เลื่อน ( Sled ) และชักลาก ไปด้วยเชือก
- ฐานของปิรามิดออกแบบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีความยาวด้านละประมาณ 756 ฟุต ผู้สร้างต้องการแสดงความรู้ เกี่ยวกับค่าทางคณิตศาสตร์คือถ้าเอา 2 เท่าของความสูงปิรามิดหารความยาวรอบฐานจะได้ค่า พาย อาร์ (เทียบกับวงกลมคือ สองเท่ารัศมีหารเส้นรอยวง ) แม้ว่าการวัดอาจคลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่ก็ปรากฎว่าคลาดเคลื่อนไปเพียง 0.1 % เท่านั้นเอง
- เชื่อกันว่าปิรามิด มีความมหัศจรรย์สามารถรักษาสภาพของมัมมี่ให้อยู่ในสภาพที่ ไม่เน่าเปื่อย นอกจากนั้นยังสามารถรักษาวัตถุต่างๆให้คงทนได้เช่นเดียวกัน เคยมีการทดลองนำปิรามิดจำลองครอบใบมีดโกนที่ใช้จนทื่อ ปรากฎว่าใบมีดกลับ คมเหมือนเดิม
เทพเจ้าของชาวอียิปต์
คงไม่มีอารยธรรมโบราณใด ที่ผูกพันกับความเชื่อเรื่องเทพเจ้าที่หลากหลายเท่าชาวอียิปต์ เทพเจ้าของอียิปต์มักอยู่ในรูปของสัตว์นานาชนิดที่พบเห็นได้รอบๆตัว ต่างจากเทพเจ้าในจินตนาการของชาวกรีกและฮินดู หรือเทพเจ้าที่เกิดจากอิทธิพลของธรรมชาติ เช่น เทพแห่งลม เทพแห่งภูเขาไฟ ฯลฯ ของชาวเกาะทะเลใต้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดค้นพบ ชาวอียิปต์เริ่มมีความคิดเรื่องเทพเจ้ามาไม่น้อยกว่า 6,000 ปี เทพรุ่นแรกๆ จะเป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ เทพแห่งอาหารการกิน เช่นเดียวกับเทพรุ่นแรกๆของอารยะธรรมยุคเริ่มต้นอื่นๆ แต่เมื่ออียิปต์พัฒนาเข้าสู่ยุคฟาโรห์ เทพแห่งอียิปต์ก็พัฒนาซับซ้อนขึ้นเป็นลำดับ มีเทพประจำเมือง ประจำอาชีพ และเทพที่เคยใหญ่บางองค์ก็กลายเป็นเทพขั้นรองไปที่จะเล่าสู่กันฟังต่อไปนี้ คือเทพที่ยังเหลือปรากฎให้คนในปัจจุบันได้พบเห็นในรูปของภาพวาด รูปปั้น เครื่องประดับ และงานศิลป์ต่างๆ หรือแม้แต่มัมมี่ของสัตว์ต่างๆ ซึ่งถือเป็นตัวแทนเทพเจ้า และเป็นเทพองค์ “ดัง” ที่คนอียิปต์โบราณส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือ
อามุน (หรืออาเมน อามอน) (AMUN /AMEN /AMON) เป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมืองธีบส์ มีรูปเป็นบุรุษเพศ เศียรประดับศิราภรณ์รูปขนนกยาว ยุคหลังพระนามเพี้ยนเป็น อาตอน หรือ อาเตน ในยุคของฟาโรห์อาเมนโฮเทปที่ 4 ได้ทรงพยายามให้คนอียิปต์ทั้งมวลหันมาเคารพเทพอาเตนเพียงองศ์เดียว ซึ่งนับเป็นความพยายามในการปฎิรูปความเชื่อครั้งยิ่งใหญ่ โดยฟาโรห์เองได้เปลี่ยนพระนามเป็น อัคนาเตน (Akhenaten) และฟาโรห์องศ์ต่อมาก็ทรงพระนามที่เกี่ยวข้อง คือ ตุตันคาเมน เป็นต้นอาเตน หรืออามุน ถือเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้ถูกนำมารวมกับ


รา หรื อ เร กลายเป็นสุริยเทพซึ่งเป็นใหญ่เหนือเทพทั้งปวงรา หรือ เร (Ra / Re)เป็นเทพบิดรแห่งเทพทั้งปวง สัญลักษณ์ของพระองค์คือ รูปจานกลมแห่งดวงอาทิตย์ (Solar Disk) บางครั้งตั้งอยู่บนเรือ (Solar Boat) ที่พายเคลื่อนข้ามท้องฟ้าทุกวันๆ บางครั้งก็เป็นรูปเหยี่ยวที่มีจานกลมอยู่บนเศียร ในฐานะที่เหยี่ยวบินได้ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด






อซิริส(OSIRIS)เทพผู้ยิ่งใหญ่แห่งยมโลก ฟาโรห์ที่สวรรคตจะทรงไปรวมกับโอซิริสในดินแดนหลังความตาย ในที่ฝังพระศพจะมีภาพโอซิริสเสมอ โอซิริสจะอยู่ในรูปบุรุษทรงเครื่องและมงกุฎของฟาโรห์ แต่มีผิวกายสีดำและถูกพันผ้าไว้แบบมัมมี่โอซิริส คือศูนย์กลางความเชื่อเรื่องการกลับฟื้นคืนชีพ เพราะตามตำนานโอซิริสถูกฆ่าโดยเซธ และถูกสับเป็นชิ้นๆ แต่ด้วยความรักของมเหสีเทวีไอซิส ผู้ตามเก็บรวบรวมพระศพมาต่อใหม่ ทำให้โอซิริสกลับฟื้นคืนมาได้อีก


ไอซีส(Isis)อัครเทวีที่คนอียิปต์ให้ความนับถือมากที่สุด เป็นเทวีแห่งความรัก และการอุทิศตนเพื่อสามีและบุตร และยังมีมนต์ และชื่อเสียงทางด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยไอซีมีพระรูปเป็นหญิงงาม ทรงเครื่องอย่างมเหสีแห่งฟาโรห์

ฮอรัส (Horus)โอรสแห่งโอซิริส และไอซีส ทรงสภาพเป็นนกเหยี่ยว เป็นเทพเจ้าแห่งท้องฟ้าและถูกทียบเป็นองค์ฟาโรห์เมื่อยังทรงพระชนม์ จึงจะพบรูปสลักองค์ฟาโรห์มีเทพฮอรัสรวมอยู่ด้วยเสมอฮอรัส คือตัวแทนแห่งความฉลาดแหลมคม และมีดวงตาที่มองทะลุได้อย่างรู้แจ้งเห็นจริง



ฮาเธอร์ ( Hathor)เทวีผู้ให้ ผู้มีความเมตตา จะอยู่ในรูปของวัว หรือเทพีที่มีเขาวัวอยู่บนเศียร ในสมัยหนึ่งน่าจะเป็นองศ์เดียวกับไอซีส เพราะตำนานบางแห่งก็ว่าเป็นมารดาแห่งฮอรัส แต่ภายหลังได้แยกจากกัน คือให้ ไอซีเป็นมารดาแห่งฮอรัส แต่ฮาเธอร์เป็นแม่นม จึงปรากฎรูปฮาเธอร์ในลักษณะวัว กำลังให้นมฟาโรห์อยู่



เซธ (Seth) เทพแห่งพายุและความรุนแรง มีรูปเป็นหน้าสัตว์ที่น่าเกลียด เช่นหมู หรือลา ตามตำนานว่าเป็นอนุชาของโอซิริส ผู้เกลียดชังพี่ของตนเอง และเป็นผู้สังหารโอซิริสด้วย



ธอธ (Thoth)เทพผู้มีเศียรเป็นรูปนกกระเรียน เป็นเทพแห่งอาลักษณ์ เจ้าแห่งการอ่านและเขียนจะเป็นผู้บันทึกเรื่องราวต่างๆในการพิพากษาดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับ



โซเบค (Sobek) เทพเจ้าแห่งลำน้ำ มีรูปเป็นจรเข้ เป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ เพราะชีวิตของคนอียิปต์ขึ้นอยู่กับแม่น้ำไนล์มัมมี่จระเข้ของโซเบคจะพบได้ทั่วไปในเขตที่นับถือเทพองค์นี้ริม 2 ฝั่งแม่น้ำไนล์



บาสเตด (Bastet)เทวีผู้มีเศียรเป็นแมว ได้รับการเคารพนับถือมาก แมวนับว่าเป็นสัตว์ที่คนอียิปต์รักใคร่และคุ้นเคยมากที่สุด ดังนั้นมัมมี่แมวจึงมีเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีที่ฝังซากมัมมี่แมวโดยเฉพาะด้วย




ตัวเรต (Taweret)เทวีแห่งมารดา และหญิงมีครรภ์ บางครั้งก็ถือเป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเป็นผู้ให้กำเหนิ ตัวเรตมีรูปเป็นฮิปโปเตมัส รูปร่างอุ้ยอ้ายคล้ายหญิงมีครรภ์นั่นเอง



เซลเคต (Selket)เทวีผู้ปกป้องหลุมฝังศพ เป็นเทวีที่มีความดุร้ายน่ากลัว มีรูปเป็นหญิงสาวมีเศียรเป็นแมลงป่อง



เนคเบต (Nekhbet)เทวีแห่งอียิปต์บน มีรูปเป็นนกแร้ง ดังนั้นบนศิราภรณ์ของฟาโรห์ จึงมีเศียรของนกแร้งอยู่คู่กับงูเห่า ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอียิปต์ล่าง



นัท หรือนุท (Nut)เป็นเทวีแห่งท้องฟ้า มีรูปเป็นผู้หญิงร่างของพระนางจะเปลือยก้มโค้งเป็นครึ่งวงกลม เหมือนท้องฟ้าที่โค้งอยู่เหนือโลก



วัดเจต(Wadjet)เทวีแห่งอียิปต์ล่าง มีรูปเป็นงูเห่า จะอยู่บนศิราภรณ์ของฟาโรห์คู่กับนกแร้ง เพื่อให้ความคุ้มครององค์ฟาโรห์เสมอ มะอาด(Maat)เทวีแห่งความเที่ยงแท้ ความยุติธรรม มีรูปเป็นหญิงสาวปักขนนกบนศิราภรณ์



เซคเมต (Sekhmet)เทวีผู้ดุร้าย คอยปกป้องเทพทั้งมวลโดยเฉพาะสุริยเทพ เป็นผู้นำความหายนะมาสู่ศัตรูผู้คิดร้ายกับสุริยเทพ มีรูปเป็นสิงโตตัวเมีย สวมศิราภรณ์รูปจานกลมแห่งดวงอาทิตย์




ปดาห์(Ptah)สุริยเทพในยามที่พระอาทิตย์ตกดินเป็นเทพแห่งความมือมิด บางครั้งถือเป็นเทพผู้คุ้มครองชีวิตหลังความตาย จึงมีรูปเป็นบุรุษที่ถูกพันผ้าไว้แบบมัมมี่ แต่ไม่ได้ทรงเครื่องเยี่ยงโอซิริส


อนูบิส (Anubis)เทพisแห่งความตาย และการจัดการพิธีศพ มีรูปเป็นหมาไน จะพบรูปอนูบิสในหลุมฝังศพ และที่ฝังพระศพทุกแห่งข้อมูล



ปิรามิด
ปิรามิดเป็นสิ่งก่อสร้างรูปกรวยเหลี่ยมสำหรับเป็นที่เก็บศพกษัตริย์อียิปต์โบราณ ในอียิปต์มีอยู่ 70 ด้วยกัน แต่ปิรามิด 3 แห่งที่อยู่เมืองกีซ่า คือ หลุมฝังศพของฟาโรห์คีออพส์(พระเจ้าคูฟู) คีเฟรน และไมซีรีนัส เป็นปิรามิดที่ใหญ่ที่สุดสันนิษฐานว่าปิรามิดนี้ สร้างขึ้นมาตั้งแต่ 4600 ปีมาแล้ว นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่า ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและยังคงตั้งตระหง่านอยู่เพียงแห่งเดียวในโลก ใช้เวลาสร้าง 10 ปี ปิรามิดที่ยิ่งใหญ่ทั้งสามอันแห่งเมืองกีซ่านี้ ที่ใหญ่ที่สุดคือปิรามิดของพระเจ้าฟาโรห์คีออพส์ เรียกว่ามหาปิรามิด ฐานของปิรามิดแห่งนี้มีความกว้างถึง 570,000 ตาราง768 ฟุต บริเวณฐานปิรามิด 4 ด้านนั้น มีความกว้างยาวเท่ากัน คือ 755 ฟุต หรือ 230.12 เมตร จะแตกต่างกันมากน้อยแค่ 8 นิ้ว ตัวมหาปิรามิดนี้สูงประมาณ 432 ฟุตประมาณได้ว่ามีหินก้อนมหึมาถึง 2,300,000 ก้อน หนักกว่า 6,000,000 ตัน แต่ละก้อนหนักถึง 2.5 ตัน บางก้อนหนักถึง 16 ตัน กว้างยาวประมาณ 3 ฟุต หรือ 1 เมตร สันนิษฐานว่าผู้สร้างปิรามิดนี้อาศัยดวงดาวเป็นหลัก นอกจากความใหญ่โตอันน่ามหัศจรรย์ของปิรามิดแล้ว การก่อสร้างให้สำเร็จยัง น่ามหัศจรรย์ยิ่งกว่าหลายเท่าถ้าทราบว่าหินเหล่านี้ต้องสกัดมาจากภูเขาที่อยูไกล แล้วลากมาสู่ฝั่งแม่น้ำไนล์ ล่องลงมาเป็นระยะทางนับร้อยไมล์ จึงมาถึงจุดใกล้ที่ก่อสร้าง แล้วชักลากผ่านทะเลทรายไปถึงที่ก่อส้างต้องแต่งสลักเป็นแท่งสี่เหลี่ยม แล้วยก วางซ้อนขึ้นไปจนถึง 432 ฟุต ใจกลางปิรามิดมีห้องเก็บพระศพของพระเจ้าคีออพส์ข้างในทำจากหินแกรนิต กว้าง 34 ฟุต ยาว 17 ฟุต และสูง 19 ฟุต หีบพระศพของพระเจ้าคีออพส์ทำด้วยหินแกรนิตตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของห้องปิรามิดของฟาโหร์คีออพส์ ล้อมรอบด้วยหลุมศพ และปิรามิดเล็ก ๆ อีก 3 แห่ง ซึ่งเป็นของสมาชิกในราชวงศ์และในราชสำนักชั้นสูง
http://ecurriculum.mv.ac.th/library2/histrory/woldhistory2/Egypt.html
http://elibrary.eduzones.com/index.php
http://www.bloggang.com/viewblog.php

ประวัติศาสตร์อียิปที่ดิฉันนำเสนอมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีประวัติศาสตร์อีกหลายอย่างที่รอการพิสูจน์ไม่ได้มีแต่ประวัติศาสตร์ของอียิปเท่านั้น แต่หมายถึงประวัติศาสตร์ทั้วโลก เพราะว่าการศึกษาประวัติศาสตร์จะนำพวกเราไปสุ่อนาคต

4 ความคิดเห็น:

สุพรรษา กล่าวว่า...

เนื้อหาดีละเอียดมากเลยนะ ลี่เซียง 8^0^8
มา ment กลับด้วยนะ

prang กล่าวว่า...

อ่านมั่ยหวัย....เนื้อหาเยอะ........


เอาคร่าวๆ ภาพสวยดี .......

A - Loo5 กล่าวว่า...

เนื้อหาสนุกดีนะ วันหลังน่าจะหาเรื่อผีมาเล่าบ้าง55555555....

sumala กล่าวว่า...

ข้อมูลดีจริงๆนะ เมย์ เนื้อหาเยอะมากๆ